เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสกว้าง เขามีความเห็นอย่าง
นี้ว่า “โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็น
อัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิก-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลือง ฯลฯ สีแดง ฯลฯ สีขาว ฯลฯ บุคคล
บางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลก
นี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็นอัตตา
และเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-20)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ 5 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระ
ก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่
เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด
สรีระก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-25)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :217 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 7. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ 5 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ รูปนั้นเป็นสรีระ
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”
เป็นอาการที่ 1 อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นเป็น
สรีระ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่าง
กัน” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5 อย่างนี้ (5-30)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ 5 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง”
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ 1
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ 5
อย่างนี้ (5-35)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :218 }